1. แหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
หลักการค้นหาข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
ในการทำงานมักจะต้องมีการหาข้อมูลประกอบการทำงานนั้น ๆ บางครั้งข้อมูลอาจเป็นเพียงข้อมูลง่าย ๆ เช่น ราคาสินค้า อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐ เป็นต้น แต่บางครั้งอาจเป็นข้อมูลเชิงลึกที่ต้องมีการวิเคราะห์ เช่น แนวโน้มสภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วง 1-2 ปี ซึ่งต้องมีการพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ดังนั้นคำว่าข้อมูลความรู้ในที่นี้ หมายถึงตั้งแต่ข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลหรือจัดหมวดหมู่แล้วซึ่งเรียกว่า สารสนเทศ ตลอดจนถึงข้อมูลเชิงลึกที่มีการวิเคราะห์ซึ่งควรจะเรียกได้ว่าความรู้ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เราสามารถค้นหาได้จากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ต่อไปนี้เราจะใช้คำว่าข้อมูลในความหมายกว้างที่รวมทั้งข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ด้วย
หลักการค้นหาข้อมูลมีดังต่อไปนี้(1.) ต้องมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับข้อมูลที่ต้องการ คือ
(1.1) รู้ว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นเป็นข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องอะไร
(1.2) รู้ว่าแหล่งข้อมูลที่มีข้อมูลนั้น น่าจะเป็นหน่วยงานใด
(1.3) รู้ว่าสำคัญที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้น มีอะไรบ้าง
(2.) ต้องรู้จักวิธีเข้าเว็บไซต์ต่าง ๆ
(3.) ต้องรู้จักวิธีใช้โปรแกรมสืบค้นข้อมูล หรือ เซิร์จเอ็นจิน (Search engine) ซึ่งจะมีรายละเอียดในหน่วยการเรียนรู้นี้
(4.) ต้องรู้จักใช้ดุลพินิจว่า
(4.1) ข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลที่ตรงกับความต้องการหรือไม่
(4.2) ข้อมูลที่ได้มาเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้หรือไม่ทั้งสองประเด็นนี้ จะมีคำแนะนำในหน่วย
การเรียนรู้นี้
การค้นหาข้อมูล
1. เครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่าง ๆ และข้อมูลที่มีอยู่ในเครือข่าย
จากหน่วยที่ 4 และหน่วยที่ 2 ได้รู้จักคำว่า เครือข่าย และได้ทราบว่าระบบโทรศัพท์เป็นเครือข่ายสื่อสารชนิดหนึ่ง คอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องที่นำมาต่อเชื่อมกันสามารถส่งข้อมูลระหว่างกันได้เป็นเครือข่ายอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้คอมพิวเตอร์มีบทบาทในฐานะเครื่องมือสื่อสารที่ทันสมัย เมื่อผนวกกับความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงกลายเป็นแหล่งข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ เราจึงสามารถค้นคว้าเกือบทุกอย่างที่ต้องการใช้ในการทำงานจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ เป็นเครือข่ายประเภทต่าง ๆ ที่สร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของการจัดเก็บและแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยตรง
1.1 อินทราเน็ต (Intranet)
เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กรหนึ่ง ๆ ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร หรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยชน์ขององค์กร คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอาจอยู่ภายในตึกเดียวกัน หรือกระจายกันอยู่ทั่วประเทศหรือทั่งโลกก็ได้ขึ้นอยู่กับว่าองค์กรนั้นมีขนาดเล็กหรือใหญ่ มีสาขามากหรือน้อยเพียงใด
1.2 เอกซ์ทราเน็ต (Extranet)
เป็นเครือข่ายภายในสำหรับองค์กรเช่นเดียวกับอินทราเน็ตแต่เปิดให้สมาชิกภายนอกที่ได้รับอนุญาตต่อเชื่อมกับเครือข่ายได้ด้วย ตัวอย่างเครือข่ายแบบนี้ ได้แก่ เครือข่ายของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด ที่มีร้านค้าวัสดุก่อสร้างต่าง ๆ เป็นสมาชิกของเครือข่ายด้วย เพื่อให้ร้านค้าเหล่านี้สามารถติดต่อสั่งซื้อสินค้าและรับบริการอื่น ๆ จากบริษัทโดยสื่อสารผ่านเครือข่ายนี้
1.3 อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายสาธารณะที่ไม่มีเจ้าของ ทุกคนที่อยากต่อเชื่อมกับเครือข่ายได้ เพียงแต่ปฏิบัติตามกติกาซึ่งมีคณะกรรมการอินเทอร์เน็ตระหว่างประเทศเป็นผู้กำหนด อินเทอร์เน็ตจำเป็นแหล่งข้อมูลเปิดแหล่งใหญ่ที่สุดของโลกที่มีข้อมูลสารพัด ทั้งที่มีประโยชน์ เช่น ข่าวสาร และสารความรู้ต่างๆ
1.4 รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้ง 3 ประเภทที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นโดยวัตถุประสงค์ต่างกัน ดังนั้น รูปแบบของการนำเสนอของข้อมูลและการเปลี่ยนแปลงจึงอาจแตกต่างกันได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต ซึ่งผู้ใช้บริการเป็นสมาชิกในวงปิดอาจใช้รูปแบบและวิธีการของตัวเอง แต่ในกรณีเป็นเครือข่ายสาธารณะจะต้องใช้รูปแบบและวิธีการที่เป็นมาตรฐานสากล สำหรับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตปัจจุบัน รูปแบบการนำเสนอข้อมูลและวิธีการเปลี่ยนข้อมูลที่แพร่หลายมากจนกลายเป็นมาตรฐานไปแล้วคือรูปของ www ซึ่งมีอิทธิพลสูงมาก ทำให้เครือข่ายเกือบทุกประเภทเปลี่ยนมาใช้ตามเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากผู้ใช้มีความคุ้นเคยเป็นอย่างดีแล้ว
2. การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต
ใช้วิธีการที่เรียกว่า เซิร์จเอ็นจิน (Search engine) ซึ่งเป็นโปรแกรมค้นหาข้อมูลอัตโนมัติ การค้นหาทำได้โดยการพิมพ์ คำสำคัญ คีย์เวิร์ด (Key Word) เข้าไปในช่องที่กำหนด แล้วคลิกที่ปุ่ม SEARCH หรือ GO โปรแกรมค้นหาจะเริ่มทำงาน การแสดงผลการค้นหาจะแสดงชื่อเว็บไซต์ URL และมักจะแสดงสาระสังเขปของเว็บไซต์นั้น ๆ ด้วย เซิร์จเอ็นจิน บางตัวจะมีระบบค้นหาที่ละเอียดขึ้น เรียกว่า แอดวานซ์เชิร์จ (Advanced search หรือ Refined search) โดยให้ผู้ค้นหาสามารถระบุเงื่อนไขได้
โปรแกรมค้นหาที่นิยมใช้กันมากเพราะเพาะมีความสามรถสูงนั้นมีอยู่ตามเว็บไซต์ ต่อไปนี้
http://www.google.com
http://www.excite.com
http: //www.yahoo.com เป็นต้น
สำหรับโปรแกรมค้นหาภาษาไทยนั้นเริ่มมีใช่บางแล้ว แต่ประสิทธิภาพยังไม่สูงนักเนื่องจากความลำบากในการแยกคำในภาษาไทย ซึ่งเขียนต่อกันโดยไมมีการเว้นวรรคคั่นเป็นคำๆ แบบภาษาอังกฤษ และอีกประการหนึ่ง เนื่องจากข้อมูลทางภาษาไทยบนเว็บไซต์ยังมีจำนวนน้อย เซิร์จเอ็นจิน ภาษาไทยมีอยู่ในเว็บไซต์ต่อไปนี้
http://www.google.co.th/
http://www.siamguru.com
http://www.hotsearch.bdg.co.th เป็นต้น
3. คำแนะนำในการใช้ Google
1. การค้นหาแบบง่าย
ให้พิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาเพียง 2 - 3 คำ ลงไปแล้วกดแป้น Enter หรือคลิกที่ปุ่ม Go บนหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บเพจที่ค้นพบ โปรแกรมค้นหาของ Google จะแสดงเฉพาะเว็บเพจที่มีคำทุกคำที่ท่านได้พิมพ์ลงไป ดังนั้นถ้ายิ่งใส่จำนวนคำลงไปมาก จำนวนเว็บเพจที่ค้นพบจะยิ่งลดจำนวนลงเพราะเป็นการค้นหาที่มีเงื่อนไขมากขึ้นนั้นเอง
2. ข้อควรทราบเกี่ยวกับหลักการทำงานของ Google เพื่อการค้นหาชั้นสูง
1. อักษรภาษาอังกฤษตัวเล็กตัวใหญ่มีผลไม่ต่างกัน โดย Google จะถือว่าอักษรตัวเล็ก (Lower case) ทั้งหมด
2. คำว่า and มีอยู่แล้วโดยปริยาย เฉพาะ Google จะหาเฉพาะเว็บเพจ ที่มีคำครบทุกคำ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้ and เพื่อเชื่อมระหว่างคำหลัก แต่ลำดับก่อนหลังของคำหลักจะให้ผลที่แตกต่างกัน
3. คำสามัญประเภท a, an, the, where, how จะถูกตัดทิ้งโดยอัตโนมัติ รวมทั้งตัวอักษรระโดดๆ เพราะคำพวกนี้ทำให้การค้นหาช้าลง และไม่ช่วยให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นแต่อย่างใด ในกรณีที่ต้องการให้ใช้คำสามัญคำใดในการค้นหาด้วย จะต้องนำหน้าคำนั้นด้วยเครื่องหมายบวก ( + ) เช่น “Standard and Poor” ในกรณีหลังนี้ โปรแกรมค้นหาจะค้นหา ตามวลีที่อยู่ภายในเครื่องหมายคำพูด
4. การกำหนดเงื่อนไขไม่ใช่คำบางคำในการค้นหา โดยนำหน้าคำนั้นด้วยเครื่องหมายลบ (–) เช่น ต้องการหาเว็บเพจที่เกี่ยวกับ e-Commerce Thailand – handicraft
5. การกำหนดให้ใช้คำที่มีความหมายคล้ายกัน (Synonym) ด้วย ให้นำหน้าคำนั้นด้วยเครื่องหมาย tilde
6. การเลือกคำหลักมีข้อแนะนำดังต่อไปนี้
- ลองใช้คำตรงๆ ก่อน เช่น ถ้าท่านต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับ Picasso ก็ให้ใส่คำว่า Picasso ลงไป
- แทนที่จะใช้คำว่า painters
- ใช้คำที่คิดว่าน่าจะมีอยู่ในเว็บไซต์ที่ต้องการหา เช่น Jumbo Jet ในเว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องบินโดยสาร เป็นต้น
- ทำให้คำหลักมีความเจาะจงมากที่สุดที่จะเป็นได้เช่น Antique lead soldier จะดีกว่า old metal toys
7. รูปคำต่างกัน ที่มากจากรากศัพท์เดียวกันจะได้รับพิจารณาโดยอัตโนมัติ เช่น diet กับ dietary
8. การค้นหาตามหมวดสาขา ( Category ) ในกรณีที่คำหลักมีความหมายได้หลายอย่าง และท่านไม่แน่จ่าจะทำให้เจาะจงอย่างไร ให้เข้าไปที่ Directory ของ Google ซึ่งอยู่ที่ directory แต่ถ้าท่านต้องการข้อมูลเกี่ยวกับรถยนต์ ยี่ห้อ Saturn ท่านจะใช้คำหลักเดียวกันนี้ค้นภายใต้ Automotive category
9. Google มีหน้าเว็บพิเศษ สำหรับช่วยให้สามารถทำการค้นหาชั้นสูงได้ง่าย ขึ้นโดยผู้ใช้ไม่ต้องจดจำวิธีการพิมพ์เงื่อนไข แต่ใช้วิธีเลือกพิมพ์ข้อความลงไปในช่องที่เหมาะสมแทน ซึ่งสามารถค้นหาเป็นภาษาไทยได้
เป็นการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากแบบหนึ่ง แต่มีข้อจำกัดตรงที่ทั้งผู้ส่งและผู้รับต้องมีอีเมลแอดเดรส (email address) หลักการเช่นเดียวกับการส่งจดหมายทางไปรษณีย์ กล่าวคือผู้ส่งใช้โปรแกรมรับส่งอีเมล เช่น ไมโครซอฟต์เอาต์ลุก (Microsoft Outlook) หรือโปรแกรมเว็บเมล (Web mail) เป็นต้น โปรแกรมไมโครซอฟต์เอาต์ลุกปกติจะมากับชุดโปรแกรม ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ ใช้สำหรับรับส่งอีเมลได้ทุกกรณี แต่ต้องมีการติดตั้ง (Set-up) ก่อนใช้จึงเป็นการไม่สะดวกนัก หากผู้ใช้ต้องการจะไปรับส่งอีเมลที่เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นนอกจากเครื่องที่ตนใช้เป็นประจำ วิธีการรับส่งแบบเว็บเมล เป็นวิธีที่สะดวกกว่า เพียงแต่ผู้ใช้เข้าสู่อินเตอร์เน็ต แล้วเข้าสู่เว็บไซต์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย (Host) ของอีเมลแอดเดรสที่ตนใช้อยู่ และเลือกคลิกที่ปุ่ม e-mail หรือ Mail โปรแกรมเว็บเมลซึ่งติดตั้งอยู่ในเครื่องนั้นก็พร้อมที่จะทำงานทันที
การส่งอีเมลทำได้โดยผู้ใช้อีเมลพิมพ์ชื่อและอีเมลแอดเดรสของผู้รับพิมพ์ข้อความลงในกรอบที่กำหนดและหากมีการส่งเอกสารที่จะแนบไปด้วยก็ระบุชื่อไฟล์ของเอกสารที่ต้องการแนบ เสร็จแล้วคลิกปุ่มส่ง (Send) จดหมายฉบับนั้นก็จะไปรออยู่ที่ “ตู้รับจดหมาย” ของคอมพิวเตอร์แม่ข่ายที่ผู้รับมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อผู้ให้บริการ เมื่อใดทีผู้รับเข้าสู่โปรแกรมรับส่งอีเมลจดหมายฉบับนั้นก็พร้อมที่จะถูกเปิดขึ้นมาให้อ่านได้ทันที หากผู้ใช้ไม่อยู่ที่สำนักงานจดหมายก็จะรออยู่ไม่ตกหล่นหรือหายไปไหน ดังนั้น วิธีนี้เป็นการสื่อสารที่ส่งไปถึงผู้รับทันทีแต่ผู้รับจะได้รับ เมื่อใดขึ้นอยู่ที่ว่ารับจะเปิดคอมพิวเตอร์เข้าไปรับแอดเมื่อใด
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นี้ สามารถใช้ส่งจดหมายฉบับเดียวกันถึงผู้รับหลายๆ คนก็ได้และโปรแกรมรับส่งส่วนมากจะอนุญาตให้ผู้ใช้จักทำ “รายชื่อกลุ่มผู้รับ” (Group mailing list) เช่น อาจตั้ง ชื่อกลุ่มว่า Members in Bangkok ประกอบด้วยผู้รับ 35 ราย Members in the North อีก 25 ราย Members in the South อีก 20 ราย เป็นต้น เมื่อจัดทำรายชื่อผู้รับ (อีเมลแอดเดรส) ในแต่กลุ่มเรียบร้อยแล้ว จะทำการส่งถึงกลุ่มใด ก็เพียงแต่ระบุชื่อชื่อกลุ่มเท่านั้น ไม่ต้องป้อนอีเมลแอดเดรสของผู้รับแต่ละราย ซึ่งทำให้สะดวกและประหยัดเวลาได้มาก
5. กระดาษข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (Web forum)
เป็นการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่คล้ายกับการเขียนข้อความไว้บนกระดาน เพื่อให้กลุ่มคนที่ต้องการจะสื่อสารกันมาอ่านและเขียนโต้ตอบกันได้ แต่กระดานในที่นี้เป็นกระดานอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรากฏบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของ ผู้ใช้แต่ละราย ปัจจุบันนี้ เว็บไซต์บางแห่งจัดตั้งเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ แยกเป็นแต่ละกระดานสำหรับแต่ละเรื่อง เช่น กรณีเว็บไซต์ www.pantip.com เป็นต้น นอกจากนั้น เว็บไซต์บางแห่งอนุญาตให้มีการจัดตั้ง “ชุมชน” สำหรับ กลุ่มคนที่มีความสนใจเรื่องเดียวกันใช้สื่อสารกันด้วยจดหมาย เอกสาร รูปภาพ ฯลฯ
6. ห้องสมุด แหล่งข้อมูลความรู้
นับตั้งแต่มีการพิมพ์หนังสือเกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 อารยธรรมของมนุษย์ มีการบันทึกเพื่อถ่ายทอดแก่อนุชนรุ่นหลังอย่างเป็นระบบ การแต่งหนังสือและการพิมพ์เผยแพร่ เป็นจำนวนครั้งละมากๆ ทำให้การเรียนรู้สามารถขยายขอบเขตออกไปอย่างรวดเร็ว ยิ่งกว่านั้นหนังสือยังเป็นสื่อที่สามารถอนุรักษ์ความรู้ไว้ได้เป็นเวลายาวนาน มากกว่าความยืนยาวของชีวิตมนุษย์หลายสิบเท่า ห้องสมุดซึ่งเป็นที่เก็บรักษาหนังสือ จึงมีการจัดการที่เป็นระบบ ทำให้ค้นหาหนังสือที่ต้องการได้ง่าย จึงเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก
วิธีการที่ใช้กันในห้องสมุดต่างๆ ทั่วโลกนั้น เรียกว่าการจัดทำบัตรรายการ และการกำหนดหมู่ เลขรหัสสำหรับหนังสือแต่ละเล่มหรือเอกสารแต่ละชิ้น
การกำหนดหมู่เลขรหัสที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมีสองระบบ คือ ระบบแรก เรียกว่า ระบบดิวอี้ (Dewy Decimal System) นิยมใช้กันตามสถาบันการศึกษา ส่วนระบบที่สองเป็นระบบใหม่กว่า เรียกว่า ระบบแอลซี (Library of congress System) เป็นระบบที่คิดขึ้นมาใช้สำหรับห้องสมุดรัฐสภาสหรัฐ ซึ่งเป็นห้องสมุดที่มีจำนวนหนังสือ และเอกสารมากที่สุดในโลก เหตุที่ต้องคิดหาระบบใหม่ขึ้นมาใช้นั้น ว่ากันว่าเพราะระบบดิวอี้ ดั้งเดิมมีความละเอียดไม่พอ ไม่สามารถแยกประเภทของหนังสือบางประเภท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ดีพอ อย่างไรก็ตาม ระบบดิวอี้ ได้มีการพัฒนาขึ้นในเวลาต่อมา จนในปัจจุบันนี้ได้รับความนิยมไม่แพ้ระบบแอลซี
บัตรรายการสำหรับหนังสือแต่ละเล่มหรือเอกสารแต่ละชิ้นนั้น จะระบุหมู่เลขรหัส ชื่อหัวเรื่อง (ชื่อหนังสือหรือเอกสาร) ชื่อผู้แต่ง ชื่อสำนักพิมพ์ ปี ค.ศ. หรือ พ.ศ. ที่พิมพ์ และชื่อเมืองที่พิมพ์ และมักจะมีสาระสังเขปเป็นคำอธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับเนื้อหาที่บรรจุด้วย นอกจากนี้จะมีข้อความหรือรหัสที่ระบุว่าหนังสือหรือเอกสารนั้นๆ ถูกจัดเก็บอยู่ที่บริเวณใดในห้องสมุดนั้นบัตรรายการต่างๆ จะถูกนำมาเรียงลำดับอักษร ตามชื่อหัวเรื่องชุดหนึ่ง แยกไว้ในตู้บัตรรายการ คนละตู้กัน ส่วนหนังสือและเอกสารต่างๆ จะถูกจัดเก็บบนชั้นหนังสือ โดยเรียงลำดับตามหมู่เลขรหัส
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น